เมนู

ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ 8


ในสิกขาบทที่ 8 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการพ้นทุจีวรที่ได้มาใหม่ก่อนใช้]


ในคำว่า นวํ ปน ภิกขุนา จีวรลาเภน นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ภิกษุได้จีวรใด, เพราะเหตุนั้น จีวรนั้น จึงชื่อว่าลภะ, ลภะนั่นแหละ คือ
ลาภ. ได้อะไร ? ได้จีวร. จีวรเช่นไร ? จีวรใหม่. เมื่อควรตรัสโดยนัยอย่าง
นี้ว่า นวจีวรลาเภน ไม่ลบนิคหิคตรัสว่า นวํ จีวรลาเภน ดังนี้. มีใจ
ความว่า ได้จีวรใหม่มา. ศัพท์ว่า ปน ในบททั้ง 2 วางไว้ตรงกลางเป็นนิบาต.
คำว่า ภิกฺขุนา เป็นการแสดงถึงภิกษุผู้ได้จีวร. แต่ในบทภาชนะ
ไม่ทรงเอื้อเฟื้อพยัญชนะ เพื่อจะแสดงแต่จีวรที่ภิกษุได้ จึงตรัสคำว่า จีวรํ
นาม ฉนฺนํ จีวรานํ
เป็นต้น.
ก็ในบทว่า จีวรํ นี้ พึงทราบว่า เป็นจีวรที่อาจนุ่งหรือห่มได้เท่า
นั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า จีวรควรวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ.
บทว่า กํสนีลํ คือ สีเขียวของช่างหนัง. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า
สนิมเหล็ก สนิมโลหะ นั่น ชื่อว่า สีเขียวเหมือนสำริด.
บทว่า ปลาสนีลํ ได้แก่ น้ำใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสีเขียว
ความ.
คำว่า ทุพฺพณฺณกรณํ อาทาตพฺพํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอากัปพินทุ (จุดเครื่องหมาย) มิได้ตรัสหมายถึงการกระทำจีวรทั้งผืน